แผลกดทับ ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
แผลกดทับ ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
ปัญหาแผลกดทับ คือปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและสร้างความทรมานให้ผู้ป่วย หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบรักษา อาจกลายเป็นแผลรุนแรง ต้องรักษาในโรงพยาบาล หรือเกิดการติดเชื้อจากแผล อันตรายถึงชีวิตได้
แผลกดทับ คือแผลที่เกิดจากการถูกกดทับเป็นเวลานาน จนทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย เกิดเนื้อตายและกลายเป็นแผล มักเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น ก้นกบ ด้านข้างสะโพก ส้นเท้า สร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วย
ใครบ้างเสี่ยงเป็นแผลกดทับ
- ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
- ผู้ป่วยที่ขยับร่างกายได้ลำบาก เช่น ภาวะแขนขาอ่อนแรง
- ผู้ป่วยที่ได้อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ทำให้เคลื่อนไหวได้น้อย
- ผู้ป่วยที่ขาดสารอาหาร ขาดน้ำ ผิวหนังบาง
- ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม
ลักษณะแผลกดทับ ตามระยะความรุนแรงของแผล
ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง กดแล้วรอยไม่จางหาย ผิวไม่ฉีกขาด
ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนัง
ระยะที่ 4 แผลลึกถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
แผลกดทับ Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวด
สิ่งสำคัญในการรักษาแผลกดทับ
- ลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับให้น้อยลง
- ดูแลรักษาแผล
- บรรเทาอาการเจ็บแผล
- ป้องกันการติดเชื้อ
หากได้รับการใส่ใจดูแลดี จะทำให้แผลหายเร็ว ลดโอกาสการเกิดแผลใหม่ และช่วยลดความทรมานของผู้ป่วย
ร่วมช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส